การส่งตรวจทางเซลล์วิทยา
วิธีการเก็บและวิธีส่งตรวจทางเซลล์วิทยา
วิธีการส่งตรวจ (Frozen sections)
การส่งชิ้นเนื้อสดจากห้องผ่าตัดกรณีต้องการทราบผลเร่งด่วนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
- นำใบรายงานส่งห้องปฏิบัติการจุลพยาธิ 2 เพื่อนัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โดยระบุ รายละเอียดให้ครบถ้วน ดังนี้
- ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ HN AN แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดหอผู้ป่วยพร้อมหมายเลข โทรศัพท์ห้องผ่าตัดสำหรับการแจ้งผลการวินิจฉัยให้แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดทราบ
- ชนิดและตำแหน่งของสิ่งส่งตรวจ ประวัติการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น
- วัน เวลา ที่จะทำการผ่าตัด
- การส่งชิ้นเนื้อสดให้นำชิ้นเนื้อสดที่ได้จากการผ่าตัดโดยไม่ต้องแช่ในน้ำยาใด ๆ ทั้งสิ้น บรรจุชิ้นเนื้อสดในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด พร้อมระบุชื่อ-นามสกุล และตำแหน่งของชิ้นเนื้อเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง
- ในกรณีที่ได้รับผลครั้งแรกแล้วต้องการส่งชิ้นเนื้อสดเพิ่มเติม ให้รีบแจ้งพยาธิแพทย์และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทราบโดยเร็วที่สุด
หมายเหต : กรณีที่นำใบรายงานส่งไปนัดล่วงหน้าแล้ว ต้องการงดทำ Frozen sections กรุณาแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทราบด้วย
การส่งตรวจทางอณูพยาธิวิทยา (Molecular Pathology)
- การตรวจวิเคราะห์และชนิดของสิ่งส่งตรวจ
รายการ |
บล็อกพาราฟิน |
เลือด |
1. Real-time PCR for MTB (M. tuberculosis complex) |
 |
|
2. Real-time PCR for MDR (TB) |
 |
|
3. EGFR mutation (Exon 18, 19, 20 and 21) |
 |
 |
4. KRAS mutation (codon 12, 13, 59, 61, 117, 146) |
 |
|
5. NRAS mutation (codon 12, 13, 59, 61, 117, 146) |
 |
|
6. RAS mutation (KRAS codon 12, 13, 59, 61, 117, 146 and NRAS codon 12, 13, 59, 61, 117, 146) |
 |
|
7. BRAF mutation (V600) |
 |
|
8. Microsatellite instability (MSI) |
 |
|
9. EGFR mutation (Fast track) |
 |
|
10. Lung Cancer Fusion Gene (ALK, ROS1, RET, NTRK1/2/3, METex14 skipping) |
 |
|
11. HER2 mutation (Exon 19 and 20) |
 |
|
12. PIK3CA mutation (Exon 2, 5, 8, 10 and 21) |
 |
|
13. Immunoglobulin heavy chain (IgH) gene rearrangement |
 |
|
14. Immunoglobulin kappa light chain (IgK) gene rearrangement |
 |
|
15. T cell receptor gamma (TCRG) gene rearrangement |
 |
|
16. T cell receptor beta (TCRB) gene rearrangement |
 |
|
17. T cell receptor delta (TCRD) gene rearrangement |
 |
|
- ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ทางอณูพยาธิวิทยา

2.1 ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่เป็นบล็อกพาราฟิน (Formalin-fixed, paraffin-embedded (FFPE) tissue)
- รายการตรวจที่ 1 ถึงรายการตรวจที่ 17 งานอณูพยาธิวิทยา รับเฉพาะสิ่งส่งตรวจที่เป็นบล็อกพาราฟิน (Formalin-fixed, paraffin-embedded (FFPE) tissue) เท่านั้น
- เลือกจากบล็อกพาราฟิน ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ที่มีส่วนของรอยโรคที่ต้องการตรวจ โดยส่งบล็อกพาราฟิน และสไลด์ H&E ของบล็อกนั้น จำนวนอย่างน้อย 1 ชุด ไม่เกิน 5 ชุด โดยขนาดชิ้นเนื้อที่เหลืออยู่ในบล็อกพาราฟิน และปริมาณ Tumor cell ควรมีขนาดอย่างน้อย ดังนี้
ชนิดการตรวจวิเคราะห์ |
ขนาดชิ้นเนื้อในบล็อก (FFPE) ที่ส่งมาตรวจวิเคราะห์ |
จำนวนเซลล์ที่ควรมีอยู่ใน Cytology slide หรือ Cell block |
Real-time PCR for MTB/ |
16 mm 2: 4 mm. x 4 mm. ความหนาอย่างน้อย 40 µm |
≥100 Cells ความหนาอย่างน้อย 40 µm
|
KRAS mutation/ NRAS mutation/ RAS mutation/ BRAF mutation/ HER2 mutation/ Gene rearrangement |
16 mm2: 4 mm. x 4 mm.
ความหนาอย่างน้อย 40 µm Neoplastic cell content ≥10% |
≥100 Cells ความหนาอย่างน้อย 40 µm
|
EGFR mutation/ PIK3CA mutation
|
16 mm2: 4 mm. x 4 mm. ความหนาอย่างน้อย 30 µm Neoplastic cell content ≥10% |
≥100 Cells ความหนาอย่างน้อย 30 µm
|
Microsatellite instability |
50 mm2
ความหนาอย่างน้อย 30 µm Neoplastic cell content ≥20% |
- |
Lung Cancer Fusion Gene |
20 mm2ความหนาอย่างน้อย 30 µm Neoplastic cell content ≥10% |
- |
2.2 ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือด (Blood sample)
- งานอณูพยาธิวิทยารับสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือดเฉพาะรายการตรวจที่ 3 เท่านั้น
- หลอดใส่เลือดที่สามารถใช้ในการส่งตัวอย่างเลือดเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ได้ ประกอบด้วย K2 EDTA Collection Tube, K3 EDTA Collection Tube, PAXgene Blood DNA Tube, STRECK Tube และ Roche Cell-Free DNA Collection Tube โดยปริมาตรของเลือดที่ต้องการ, ระยะเวลาที่ควรส่งตัวอย่างถึงห้องปฏิบัติการ และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งตัวอย่างเลือด ขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดเก็บตัวอย่างเลือด โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.กรณีใช้หลอดเก็บเลือดชนิด K2 EDTA Collection Tube หรือ K3 EDTA Collection Tube ทำการเก็บตัวอย่างเลือดปริมาตรอย่างน้อย 4 มิลลิลิตร จำนวน 2 หลอด และต้องจัดส่งตัวอย่างเลือดถึงห้องปฏิบัติการอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยา ภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากเจาะเลือดจากคนไข้ โดยขนส่งที่อุณหภูมิ ≤ 30 องศาเซลเซียส
2.กรณีใช้หลอดเก็บเลือดชนิด PAXgene Blood DNA Tube, STRECK Tube หรือ Roche Cell-Free DNA Collection Tube ทำการเก็บตัวอย่างเลือดปริมาตรอย่างน้อย 8 มิลลิลิตร จำนวน 1 หลอด เก็บรักษาและขนส่งหลอดเลือดที่อุณหภูมิ 18-25 องศาเซลเซียส ต้องจัดส่งตัวอย่างเลือดถึงห้องปฏิบัติการอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยา ภายใน 3 วัน หลังจากเจาะเลือดจากคนไข้
- กรณีที่ผู้ส่งตรวจทำการส่งตัวอย่างด้วยตนเอง ให้นำหลอดเลือดพร้อมเอกสารที่ต้องส่งมาพร้อมสิ่งส่งตรวจ มาส่งโดยตรงที่งานอณูพยาธิวิทยา ชั้น 3 สถาบันพยาธิวิทยา
- กรณีเป็นการจัดส่งตัวอย่างผ่านแมสเสนเจอร์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ให้ทำการห่อหลอดเลือดด้วยแผ่นกันกระแทก หรือบับเบิ้ล จากนั้นใส่หลอดเลือดลงในถุงซิปล็อคและปิดปากถุงให้สนิทดังตัวอย่างในรูป เพื่อป้องกันการแตกเสียหายของหลอดเก็บตัวอย่างเลือด และเขียนหน้ากล่องระบุว่า “ส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์ห้องอณูพยาธิวิทยา” และส่งตัวอย่างมาที่ งานอณูพยาธิวิทยา อาคาร 2 ชั้น 3 สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ จากนั้นติดต่อแจ้งงานอณูพยาธิวิทยาตามเบอร์ติดต่อในข้อ 7 แจ้งความประสงค์ในการส่งตัวอย่างเลือดมาทำการตรวจวิเคราะห์ เพื่อป้องกันการตกหล่นของตัวอย่าง

- เอกสารที่ต้องส่งมาพร้อมกับสิ่งส่งตรวจ
- ให้สถานพยาบาลผู้ส่งตรวจกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่มีในใบส่งตรวจ (Request form; IOP-RQ-FO-04 V.4) ให้ครบถ้วน
- พร้อมทั้งแนบใบรายงานผลทางพยาธิวิทยาที่ระบุหมายเลขบล็อกและสไลด์ H&E ที่ตรงกับสิ่งส่งตรวจ เท่านั้น
- ข้อจำกัดในการตรวจ
4.1 กรณีการตรวจมีปัญหาเนื่องจากสารพันธุกรรมของตัวอย่างคุณภาพไม่ดี สถาบันพยาธิวิทยา ขอจำกัดการตรวจซ้ำ โดยจะทำการตรวจซ้ำให้อีก 1 ครั้ง ทั้งนี้หากยังไม่สามารถตรวจ และรายงานผลการตรวจได้ ทางสถาบันพยาธิวิทยาจะรายงานกลับว่า “ไม่สามารถตรวจได้ เนื่องจากสารพันธุกรรมของตัวอย่างคุณภาพไม่ดี” โดยค่าบริการการตรวจวิเคราะห์ สถาบันพยาธิวิทยา จะคิดราคาเท่ากับการตรวจเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น
4.2 กรณีที่พยาธิแพทย์ของสถาบันพยาธิวิทยา ตรวจพบว่าสิ่งส่งตรวจส่วนที่เหลือจากการวินิจฉัยครั้งแรก ไม่พบบริเวณรอยโรคหรือเนื้อมะเร็งที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยาขอ ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังกล่าว ทั้งนี้จะเก็บค่าบริการเฉพาะการผลิตสไลด์ H&E เท่านั้น
4.3 รายการตรวจที่ 2 Real-time PCR for MDR (TB) ต้องทราบผลและผ่านการตรวจด้วยชุดน้ำยา Real-time PCR for MTB กับทางสถาบันพยาธิวิทยามาแล้วเท่านั้น
4.4 กรณีส่งตรวจวิเคราะห์ Microsatellite instability (MSI) และ Lung Cancer Fusion Gene (ALK, ROS1, RET, NTRK1/2/3, METex14 skipping) แล้วพบว่าการตรวจมีปัญหาเนื่องจากสารพันธุกรรมของตัวอย่างคุณภาพไม่ดี สถาบันพยาธิวิทยา ขอจำกัดการตรวจซ้ำและทางสถาบันพยาธิวิทยาจะรายงานกลับว่า “ไม่สามารถตรวจได้ เนื่องจากสารพันธุกรรมของตัวอย่างคุณภาพไม่ดี” โดยค่าบริการการตรวจวิเคราะห์ สถาบันพยาธิวิทยา จะคิดราคาเท่ากับการตรวจ 1 ครั้ง
- การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ
5.1 งานอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ ขอปฏิเสธการรับสิ่งส่งตรวจ ในกรณีที่ผู้ส่งตรวจมิได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำตามระเบียบปฏิบัติ วิธีการเก็บ และวิธีส่งสิ่งส่งตรวจ ดังกล่าวข้างต้น
5.2 งานอณูพยาธิวิทยา สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ ขอปฏิเสธการรับสิ่งส่งตรวจสำหรับรายการตรวจที่ 3 ในกรณีที่หลอดเลือดผู้ป่วยแตกเนื่องจากการขนส่ง
- การติดต่อสอบถาม
ติดต่อ งานอณูพยาธิวิทยา กลุ่มงานชันสูตรพิเศษ หมายเลขโทรศัพท์ 02-3548208-15 ต่อ 233
วิธีการส่งตรวจ FISH, DISH
- การตรวจวิเคราะห์และชนิดของสิ่งส่งตรวจ
รายการ |
บล็อกพาราฟิน |
1. HER2 DISH |
 |
2. ALK FISH |
 |
3. EWSR1 FISH |
 |
4. N-Myc FISH |
 |
5. SS18 FISH |
 |
6. ETV6 FISH |
 |
- ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ งานวิเคราะห์เซลล์

2.1 ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่เป็นบล็อกพาราฟิน (Formalin-fixed, paraffin-embedded (FFPE) tissue)
2.1.1 รายการตรวจที่ 1 ถึงรายการตรวจที่ 6 งานวิเคราะห์เซลล์รับเฉพาะสิ่งส่งตรวจที่เป็นบล็อกพาราฟิน (Formalin-fixed,
paraffin-embedded (FFPE) tissue) เท่านั้น
2.1.2 รายการตรวจที่ 1 (HER2 DISH) ต้องส่งสิ่งส่งตรวจ ดังนี้
- บล็อกพาราฟิน (Formalin-fixed, paraffin-embedded (FFPE) tissue)
- สไลด์ H&E
- สไลด์ที่ย้อมอิมมูโนฮีสโตเคมี ชนิด HER2 (HER2 IHC)
2.1.3 เลือกจากบล็อกพาราฟิน ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ที่มีส่วนของรอยโรคที่ต้องการตรวจ โดยส่งบล็อกพาราฟิน และสไลด์ H&E ของบล็อกนั้น ซึ่งควร
มีปริมาณ Tumor cell อย่างน้อย ดังนี้
ชนิดการตรวจวิเคราะห์ |
จำนวนเซลล์ที่ควรมีอยู่ใน FFPE |
HER2 DISH |
> 20 cells |
ALK FISH |
> 50 cells |
EWSR1 FISH |
> 100 cells |
N-MYC FISH |
> 25 cells |
SS18 FISH |
> 50 cells |
ETV6 FISH |
> 100 cells |
3.เอกสารที่ต้องส่งมาพร้อมกับสิ่งส่งตรวจ
3.1 ให้สถานพยาบาลผู้ส่งตรวจกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่มีในใบส่งตรวจ (Request form; IOP-RQ-FO-05) ให้ครบถ้วน
3.2 พร้อมทั้งแนบใบรายงานผลทางพยาธิวิทยาที่ระบุหมายเลขบล็อกและสไลด์ (H&E และ HER2 IHC) ที่ตรงกับ
สิ่งส่งตรวจ เท่านั้น
วิธีการส่งตรวจทาง Histochemistry
ตัวอย่างที่ชิ้นเนื้อส่งเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา นอกจากจะเป็นชิ้นเนื้อที่ผ่านการตรวจด้วยตาเปล่าจากงานศัลพยาธิ และนำเข้าขบวนการเตรียมชิ้นเนื้อ เพื่อให้มีความแข็งมากพอที่จะสามารถตัดให้เป็นแผ่นบางๆ จากนั้นนำมาย้อมสีด้วยสีพื้นฐาน Hematoxylin and Eosin การย้อมสีวิธีนี้ทำให้พยาธิแพทย์มองเห็นโครงสร้างของเซลล์ และรอยโรคได้ แต่หากข้อมูลหรือรายละเอียดยังไม่เพียงพอพยาธิแพทย์ จะมีการสั่งย้อมสีด้วยพิเศษเพิ่มเติม สิ่งส่งตรวจทางฮิสโตเคมี(Histochemistry) ได้แก่
- การส่งพาราฟินบล็อกที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว มีส่วนที่ส่งสัยต้องการย้อมสีพิศษเพิ่ม โดยระบุหมายเลขบล็อกชิ้นเนื้อ วิธีย้อมสีพิเศษ เช่น GMS,AFB,PAS อื่นๆ ทาง Website ของทางสถาบันพยาธิ โดยปฏิบัติตามคู่มือการลงทะเบียนย้อมพิเศษ (online) download ที่นี้
ซึ่งใช้ Username และ Password ที่ได้รับจากสถาบันพยาธิในการเข้าสู่ระบบส่งตรวจพิเศษ/สั่งย้อมพิเศษ (ไม่แปลผล)
- การส่งตัวอย่างสไลด์
- สไลด์ Cyto หรือสารน้ำ จะต้องแช่ตัวอย่างอย่างสไลด์ใน 95% alcohol อย่างน้อย 30 นาที เพื่อ Fix โดยบนแผ่นสไลด์จะต้องระบุหมายเลขสไลด์ และวิธีย้อมสีอย่างชัดเจน
- สไลด์ Cyto หรือสารน้ำ เพื่อย้อม lipid จะต้องแช่ตัวอย่างอย่างสไลด์ใน 60% Isopropanal อย่างน้อย 30 นาที เพื่อ Fix โดยบนแผ่นสไลด์จะต้องระบุหมายเลขสไลด์ และวิธีย้อมสีอย่างชัดเจน
- สไลด์ชิ้นเนื้อต้องตัดที่ความหนา 5 ไมครอน และช้อนชิ้นเนื้อให้ตรงกลาง เพื่อเหลือพื้นที่ให้ห้องปฏิบัติการใส่ positive control โดยไม่ต้องอบสไลด์ แต่ควรระมัดระวังไม่ให้สไลด์มีรอย โดยบนแผ่นสไลด์จะต้องระบุหมายเลขสไลด์ และวิธีย้อมสีอย่างชัดเจน
- การส่งชิ้นเนื้อ เพื่อการย้อมสีด้วยวิธี Oil red O การย้อมสีวิธี เป็นการย้อมหา Fat หรือ lipid ในชิ้นเนื้อในน้ำยา 10% formalin เพื่อ Fix (การย้อมวิธีชิ้นเนื้อจะต้องไม่ผ่านขบวนการเตรียมชิ้นเนื้อด้วยน้ำยาเคมี เพราะมีน้ำยาที่ใช้เตรียมชิ้นเนื้อมี
คุสมบัติเป็นตัวทำละลาย Fat หรือ lipid ในชิ้นเนื้อ)
วิธีการส่งตรวจทาง (Immunohistochemistry)
- การส่งเป็นพาราฟินบล็อกชิ้นเนื้อ
- เลือกพาราฟินบล็อกที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วว่า มีส่วนของชิ้นเนื้อที่สงสัยและต้องการตรวจ ย้อมด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมี
- ระบุชนิดของแอนติเจนหรือรายการย้อมที่ต้องการตรวจ หมายเลขบล็อก และรายละเอียดต่าง ๆ ในระบบลงทะเบียนผ่านทาง Website ของทางสถาบันพยาธิ โดยปฏิบัติตามคู่มือการลงทะเบียนย้อมพิเศษ (online) download ที่นี้
ซึ่งใช้ Username และ Password ที่ได้รับจากสถาบันพยาธิ ในการเข้าสู่ระบบส่งตรวจพิเศษ/สั่งย้อมพิเศษ (ไม่แปลผล)
- ส่งตัวอย่างพาราฟินบล็อก พร้อมกับใบสั่งย้อมพิเศษ Histochemistry/Immunohistochemistry
(ไม่แปลผล) ที่ Print จากระบบลงทะเบียนย้อมพิเศษ (online) ผ่านทาง Website สถาบันพยาธิ ส่งมาที่ห้องปฏิบัติการอิมมูโนฮีสโตเคมี ชั้น 2 สถาบันพยาธิวิทยา
การส่งเป็นสไลด์
- สไลด์ที่ตัดจากพาราฟินบล็อก ความหนาของ section อยู่ที่ประมาณ 3 ไมครอน นำเข้าตู้อบที่ อุณหภูมิ 65o C โดยทิ้งไว้ข้ามคืน หรือที่ 75 o C อย่างน้อย 30 นาที โดยใช้สไลด์ที่เคลือบด้วย 3-aminopropyl triethoxysilane หรือ สไลด์เคลือบประจุบวก (Slide Superfrost plus) สำหรับการย้อมด้วยเครื่องย้อมอัตโนมัติ Leica BOND MAX และ BOND III หรือ สไลด์เคลือบประจุบวก Matsunami ซึ่งเป็นสไลด์ Hydrophilic สำหรับรายการที่ย้อมด้วยเครื่องย้อมอัตโนมัติ Ventana BenchMark Ultra โดยมีรายการดังต่อไปนี้
- ALK(D5F3)
- Her-2
- BRAF V600E
- ROS-1
- CXCL13
- PD-L1(22C3)
- PD-L1(SP142)
- Pan-TRK
- EBER(ISH)
- RNA Probe
ทั้งนี้การช้อนชิ้นเนื้อลงบนสไลด์เคลือบประจุบวกควรช้อนให้ บริเวณที่ต้องการตรวจอยู่ในตำแหน่งกี่งกลางสไลด์ (ดังภาพที่ 1) และควรเว้นพื้นที่สำหรับใส่ชิ้นเนื้อ Positive control (ดังภาพที่ 2) และควรสำรองสไลด์มาเพิ่มอีก 1 แผ่น เพื่อใช้ในกรณี เกิดเหตุเครื่องขัดข้อง หรือชิ้นเนื้อเกิดการหลุดลอก ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว แต่ไม่ควรตัด ไว้นานเกิน 5 วัน หากตัดไว้นานเกินควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อรักษาสภาพชิ้นเนื้อ เนื่องจากแอนติเจนอาจเสื่อมสภาพ จนทำให้ย้อมติดสีจาง หรือ ไม่ติดสีได้
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
2.2 สไลด์จากเซลล์สเมียร์ หรือ Liquid-based อาจจะเป็น
2.2.1 สไลด์ที่ผ่านการย้อมสี PAP หรือ H&E มาแล้ว
2.2.2 สไลด์ที่ยังไม่ผ่านการย้อมสี ให้ fix มาใน 95% แอลกอฮอล์
2.2.3 สไลด์ Imprint เช่น จากมะเร็งเต้านมที่ต้องการย้อมหา ER, PR
- fix ใน 10% buffer formalin 2-4 ชม.
2.3 ระบุชนิดของแอนติเจนหรือรายการย้อมที่ต้องการตรวจ หมายเลขสไลด์ และรายละเอียดต่าง ๆ ในระบบลงทะเบียน โดยผ่านทาง Website นี้
https://webbased.iop.or.th
ซึ่งใช้ Username และ Password ที่ได้รับจากสถาบันพยาธิ ในการเข้าสู่ระบบสั่งย้อมพิเศษ โดยถ้าหากเป็นสไลด์ Unstainที่ตัดจากพาราฟินบล็อกสามารถสั่งย้อมได้แบบเดียวกับการส่งเป็นบล็อกพาราฟินชิ้นเนื้อ ส่วนสไลด์จากเซลล์สเมียร์ หรือ Liquid-based ให้สั่งย้อมโดยเลือกระบบสไลด์ Cyto/Restain(IHC) จากนั้น Print ใบสั่งย้อมพิเศษ Histochemistry/Immunohistochemistry (ไม่แปลผล) แล้วนำส่งพร้อมกับสไลด์ตัวอย่างที่ส่งตรวจ
ภาพตัวอย่างสไลด์จากเซลล์สเมียร์ที่ผ่านการย้อมสี PAP smear มาแล้ว
3 ส่งสไลด์ปรึกษา วิธีการส่งตรวจ
3.1 ส่งสไลด์พร้อมบล็อกชิ้นเนื้อในกรณีปรึกษาชิ้นเนื้อทางอิมมูโนฮีสโตเคมี พร้อมกับใบประวัติผู้ป่วย ที่ระบุผลการตรวจทางคลินิก การวินิจฉัยโรค รายการขอตรวจย้อมชิ้นเนื้อ นำส่งงานศูนย์รับ สิ่งส่งตรวจ เพื่อทำการลงทะเบียนและออกหมายเลข ขอส่งตรวจปรึกษา
3.2 โปรดระบุ ชนิดของการปรึกษาให้ชัดเจน
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบค่าบริการตรวจย้อมงานอิมมูโนฮีสโตเคมี ได้ที่ Qrcode ด้านล่างนี้

Qrcode ตรวจสอบค่าบริการตรวจย้อมงานอิมมูโนฮีสโตเคมี
วิธีการส่งปรึกษาเพื่อการวินิจฉัย
- ใบส่งตรวจต้องใช้ใบส่งปรึกษา ต้องระบุชื่อ - นามสกุลผู้ป่วย อายุ, เพศ, เลขที่ทั่วไป, เลขที่ภายใน (ถ้ามี) ชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจ ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่ง หมายเลขบล็อค สไลด์ จำนวนบล็อค สไลด์มาให้ครบถ้วนและระบุผลการตรวจทางคลินิก, การวินิจฉัยโรค โปรดระบุชนิดของการปรึกษาให้ชัดเจน
- ต้องมีพาราฟินบล็อคและสไลด์ที่ต้องการปรึกษาส่งมาให้ครบถ้วน
- แนบผลการวินิจฉัยคนไข้ ประวัติการรักษาคนไข้ ๖ผล X-ray, CT scan, MRI (ถ้ามี)
- ต้องลงทะเบียนในระบบ Web base ซึ่งใช้ Username และ Password ที่ได้รับจากสถาบัน-พยาธิวิทยาด้วยทุกครั้ง
- ต้อง มีใบนำส่งถึงผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา และใบนำส่งปรึกษาที่มีรายชื่อผู้ป่วยที่ลงทะเบียนแล้วเป็นบาร์โค๊ดมาด้วยทุกครั้ง
งานบริการตรวจศพ
วิธีการส่งตรวจ
- ในการขอชันสูตรศพ แพทย์ผู้ขอมีหน้าที่อธิบายแก่ญาติ ให้ทราบขั้นตอนและวิธีการของการตรวจศพก่อนทำการตรวจศพ ดังนี้
- ต้องมีรอยผ่าและเย็บบริเวณหน้าอกถึงท้องน้อย และบริเวณหนังศีรษะ
- ต้องมีการเอาอวัยวะภายในออกมาตรวจ
- ต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 3 ชั่วโมงต่อราย
- ส่งศพที่ต้องการตรวจ พร้อมใบยินยอมของญาติผู้เสียชีวิตแฟ้มประวัติผู้เสียชีวิต และใบร้องขอตรวจศพของแพทย์ผู้ขอให้กลุ่มงานตรวจศพ สถาบันพยาธิวิทยา
- ศพที่ต้องการตรวจไม่ควรเสียชีวิตเกิน 3 วัน
- แพทย์ผู้ขอ สามารถเข้าร่วมทำการตรวจศพกับพยาธิแพทย์ได้
วิธีการส่งชิ้นเนื้อ kidney biopsy
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการผู้รับผิดชอบทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โดยโทรศัพท์แจ้งที่ สถาบันพยาธิวิทยา
เบอร์โทรศัพท์ 0-2354-8208-15 แล้วต่อสายภายในตามหมายเลขเรียงลำดับ ดังนี้
- ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน โทร.215 - กลุ่มงานชันสูตรพิเศษ โทร.136
- ศูนย์รับ-ส่งสิ่งส่งตรวจ โทร.212
- เตรียมน้ำยาใส่ขวดไว้ ดังนี้
- ขวดที่ 1 : 4% glutaraldehyde in phosphate buffer
- ขวดที่ 2 : normal saline
- ขวดที่ 3 : 10% neutral buffer formalin
น้ำยาทั้งหมดขอรับล่วงหน้าที่ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน สถาบันพยาธิวิทยา แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4°C หรือเตรียมได้เองตามวิธีเตรียมในตอนท้ายของคู่มือนี้
วิธีเก็บชิ้นเนื้อที่ได้จากการทำ Kidney biopsy
- ล้างชิ้นเนื้อที่เก็บได้ด้วย normal saline ทันที
- หยด normal saline ลงบนสไลด์ นำชิ้นเนื้อวางลงใน normal saline แล้วใช้มีดโกนหรือมีดผ่าตัดใหม่ ที่มีความคมมากแบ่งชิ้นเนื้อเป็น 5 ชิ้น อย่างรวดเร็วโดยให้ได้สัดส่วน ดังรูป

- นำชิ้นเนื้อทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาอย่างรวดเร็ว ดังนี้
- ส่วนที่ 1 ใส่ลงใน 2.5% glutaraldehyde (สำหรับตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน)
- ส่วนที่ 2 ใส่ลงใน O.C.T compound (สำหรับตรวจด้วยวิธี Immunofluorescence)
- ส่วนที่ 3 ใส่ลงใน 10% neutral buffer formalin (สำหรับตรวจด้วย light microscope)
- แยกบรรจุขวดน้ำยาเพื่อนำส่ง ดังนี้
4.1 นำขวดน้ำยา 2.5% glutaraldehyde และ 10% neutral buffer formalin บรรจุลงในภาชนะเก็บความเย็นเดียวกัน นำส่งโดยแช่ในน้ำแข็งธรรมดา (ห้าม แช่ฟรีส หรือ ใส่ในน้ำแข็งแห้ง) แล้วนำส่งอย่างรวดเร็ว
4.2 นำขวดน้ำยา O.C.T compound บรรจุลงในภาชนะเก็บความเย็น นำส่งโดยแช่ในน้ำแข็งแห้ง
- หากไม่สามารถนำส่งได้ทันทีให้ดำเนินการดังนี้
- ส่วนที่ 1 ให้ใช้มีดโกนหรือมีดผ่าตัดใหม่ที่มีความคมมาก แบ่งชิ้นเนื้อออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ1x1x1 ลบ.มม. โดยทำการแบ่งชิ้นเนื้อบนสไลด์ และชิ้นเนื้อนั้นต้องมีน้ำยา 2.5% glutaraldehyde หล่อให้ท่วมอยู่ตลอดเวลา เสร็จแล้วนำชิ้นเนื้อใส่ลงในขวดที่มีน้ำยา 2.5% glutaraldehyde ทิ้งไว้นาน 30 นาที ระหว่างนี้ให้เขย่าขวดตลอดเวลาหรือใช้เครื่อง rotator หรือ shaker เมื่อครบเวลาแล้วให้เปลี่ยนน้ำยาในขวดเป็น phosphate buffer โดยเปลี่ยนน้ำยา buffer 3 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที ระหว่างนี้ต้องเขย่าขวดเช่นกัน เสร็จแล้วให้นำชิ้นเนื้อที่แช่ใน phosphate buffer เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4°C เพื่อรอนำส่งต่อไป
- ส่วนที่ 2 ให้ใส่ลงใน O.C.T compound (เป็นชื่อทางการค้าและเป็นน้ำยาสำเร็จรูปต้องจัดหาเอง) แล้วทำให้แข็งโดยแช่ในช่อง freeze ทิ้งไว้เพื่อรอนำส่งต่อไป ระหว่างนำส่งต้องเก็บในน้ำแข็งแห้ง เพื่อไม่ให้ O.C.T compound ละลาย
*** ระหว่างนำส่ง *** ต้องเก็บความเย็นไม่ให้ O.C.T compound ละลายโดยใส่ในน้ำแข็งแห้ง
แล้วใส่ในภาชนะเก็บความเย็นขณะนำส่ง
- ส่วนที่ 3 ให้ใส่ไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4°C เพื่อรอนำส่งพร้อมกับส่วนอื่น ๆ
วิธีการเตรียมน้ำยาที่ใช้สำหรับเก็บชิ้นเนื้อ Kidney biopsy |
1 |
2.5% glutaraldehyde in phosphate buffer - 50% glutaraldehyde (EM grade)
- Phosphate buffer |
5 ml. 95 ml. |
2 |
Phosphate buffer Solution A : - Sodium dihydrogen phosphate monohydrate
- Distilled water |
2.26 g. 100 ml. |
|
Solution B : - Sodium hydroxide phosphate (NaOH) - Distilled water |
0.504 g. 20 ml. |
|
Solution C : - Glucose
- Distilled water |
0.54 g. 10 ml. |
|
Solution D :
- ผสม Solution A 83 ml. กับ Solution B 17 ml. ปรับ pH 7.3-7.4
Buffer :
- ผสม Solution D 90 ml. กับ Solution C 10 ml. เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4°C |
|
3 |
10% neutral buffer formalin (ดูวิธีการเตรียมในวิธีการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจศัลยกรรม) |
วิธีวางชิ้นเนื้อใน OCT compound
วางแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ขนาดพอที่จะห่อชิ้นเนื้อได้สะดวก บนน้ำแข็งแห้งหรือบนพื้นที่มีความเย็นจัดประมาณ -200 °C เช่น ในช่องแช่แข็งในตู้เย็น หยด OCT compound ลงไป รอจนเริ่มแข็งตัว OCT จะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น นำชิ้นเนื้อวางลงไปในแนวราบ ถ้าเป็นชิ้นเนื้อจากผิวหนังให้วางชิ้นเนื้อโดยการตะแคงข้างขึ้น โดยให้ชั้นผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนังอยู่ในแนวราบ แล้วหยด OCT ลงไปอีกจนท่วมชิ้นเนื้อพับอลูมิเนียมฟอยล์ห่อชิ้นเนื้อนั้นนำใส่ในขวดเก็บตัวอย่าง แล้วรีบแช่ในน้ำแข็งแห้งหรือไนโตรเจนเหลวทันที
คำแนะนำในการส่งสไลด์แก้ว
- สไลด์ที่ส่งตรวจทุกแผ่นต้องเขียนข้อมูลระบุตัวตนผู้ป่วยบนหัวสไลด์ เพื่อป้องกันการสลับกับสไลด์ของผู้ป่วยรายอื่น
- ใช้กระจกสไลด์ชนิดขอบฝ้า (Frosted end glass slide) เท่านั้น ห้ามใช้กระจกสไลด์ชนิดใสทั้งแผ่น (Clear glass slide)
- เขียนชื่อผู้ป่วยและเลขที่เวชระเบียนบนหัวสไลด์ด้านที่มีผิวขรุขระด้วยดินสอชนิด HB
***ไม่ควรใช้ดินสอที่มีความเข้มมากกว่า HB (เช่น 2B, EE) เนื่องจากผงไส้ดินสอจะร่วงมาปะปนกับสิ่งส่งตรวจบนสไลด์มากกว่าดินสอชนิด HB และรบกวนการอ่านสไลด์***
- ห้ามใช้ปากกาที่หมึกลบได้ด้วยแอลกอฮอล์เขียนหัวสไลด์
- เขียนหัวสไลด์ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนป้ายสิ่งส่งตรวจทุกครั้ง
- หากมีการบรรจุสไลด์ตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปในภาชนะเดียวกันซึ่งไม่มีร่องกั้นสำหรับวางสไลด์แยกกัน ควรใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบบริเวณหัวสไลด์ทุกแผ่น เพื่อป้องกันไม่ให้กระจกสไลด์ประกบติดกันภายในภาชนะ
- ป้ายสิ่งส่งตรวจลงบนสไลด์ด้านที่หัวสไลด์มีผิวขรุขระ
การส่งตรวจเซลล์วิทยานรีเวช (Gynecologic cytology – Pap test)
ข้อแนะนำสำหรับผู้รับการตรวจ
- หลีกเลี่ยงการตรวจระหว่างมีประจำเดือน
- งดเพศสัมพันธ์ก่อนรับการตรวจ 24 ชั่วโมง
- ห้ามสวนล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดก่อนรับการตรวจ 24 ชั่วโมง
- ไม่ใช้ยาเหน็บในช่องคลอดก่อนรับการตรวจ 48 ชั่วโมง
ข้อแนะนำสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจ
- ถุงมือที่ใช้สำหรับการตรวจควรเป็นชนิดไม่มีแป้ง เนื่องจากผงแป้งอาจปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจและรบกวนการอ่านสไลด์
- ควรหล่อลื่น speculum ด้วย normal saline solution เท่านั้น ไม่ควรใช้เจลหล่อลื่น เนื่องจากสารหล่อลื่นสามารถบดบังเซลล์ในสิ่งส่งตรวจได้
ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจ
- กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อคำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- ข้อมูลสำคัญทางนรีเวชของผู้ป่วยที่ต้องบันทึกในใบส่งตรวจ ได้แก่ ความผิดปกติและรอยโรคที่พบจากการตรวจภายใน, วันที่ของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP), ประวัติการตั้งครรภ์ตามระบบ GPA หรือ TPAL terminology, อายุของบุตรคนสุดท้ายหรือระยะเวลาหลังจากแท้งบุตรคนสุดท้าย, การคุมกำเนิด, การใช้ยาฮอร์โมน, การวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจในครั้งนี้, ประวัติโดยย่อ (clinical history), ประวัติการรักษา (ยา, การผ่าตัด, รังสีรักษา), ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยาครั้งก่อน
- ในกรณีที่ผู้ทำการตรวจ Pap smear ไม่ใช่แพทย์ กรุณาระบุชื่อและตำแหน่งหน้าที่ของผู้ทำการตรวจ
วิธีการเตรียมสิ่งส่งตรวจ
- การส่งตรวจทางเซลล์วิทยานรีเวชด้วยวิธี Conventional Pap smear
- เขียนชื่อและเลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วยบนหัวสไลด์ด้วยดินสอก่อนทำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
- หลังจากป้ายสิ่งส่งตรวจลงบนสไลด์ รีบวางสไลด์ลงในภาชนะบรรจุสารละลาย 95% ethyl alcohol ทั
เตรียมสไลด์จำนวน 2-8 แผ่น เป็น air-dried slide 1 แผ่น และที่เหลือเป็น wet-fixed slide (หาก specimen มีปริมาณน้อยมาก สามารถเตรียมสไลด์ได้ไม่เกิน 2 แผ่น ให้ทำเฉพาะ wet-fixed slide)นที
โดยให้ปริมาณของสารละลายท่วมแผ่นสไลด์
- ถ้าทิ้งสไลด์ไว้จนแห้ง สามารถแก้ไขโดยแช่สไลด์ใน 0.9% normal saline นาน 2-3 นาทีก่อน นำไปแช่ใน 95% ethyl alcohol
- อย่าเช็ดเนื้อเยื่อหรือเมือกที่ติดอยู่บนสไลด์ออกไป
- ข้อมูลสำคัญทางนรีเวชของผู้ป่วยที่ต้องบันทึกในใบส่งตรวจ ได้แก่ ความผิดปกติและรอยโรคที่พบจากการตรวจภายใน,วันที่ของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP), ประวัติการตั้งครรภ์ตามระบบ GPA หรือ TPAL terminology, อายุของบุตรคนสุดท้ายหรือระยะเวลาหลังจากแท้งบุตรคนสุดท้าย, การคุมกำเนิด, การใช้ยาฮอร์โมน, การวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจในครั้งนี้, ประวัติโดยย่อ (clinical history), ประวัติการรักษา (ยา, การผ่าตัด, รังสีรักษา), ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยาครั้งก่อน
- ในกรณีที่ผู้ทำการตรวจ Pap smear ไม่ใช่แพทย์ กรุณา<ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าที่ของผู้ทำการตรวจ
- การส่งตรวจทางเซลล์วิทยานรีเวชด้วยวิธี Liquid-based technique
- เก็บสิ่งส่งตรวจลงในภาชนะบรรจุสารละลาย fixative ปิดฝาให้แน่น ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนภาชนะ
- นำภาชนะและใบส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการ
*** สอบถามชนิดของอุปกรณ์การตรวจทางเซลล์วิทยา Liquid-based ได้จากกลุ่มงานเซลล์วิทยา สถาบันพยาธิวิทยา ***
การส่งตรวจของเหลวในร่างกาย (Body fluid)
ของเหลวในร่างกาย ได้แก่ น้ำจากช่องปอด (pleural effusion) ช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) น้ำจากช่องท้อง (peritoneal fluid, ascites, peritoneal washing)
- ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
- - ควรนำสิ่งส่งตรวจทั้งหมด (ที่เหลือจากการแบ่งไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการชนิดอื่น เช่น cell count and differential count, culture, etc.)
ส่งตรวจเซลล์วิทยา
- - สิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมควรมีปริมาณอย่างน้อย 30-50 มิลลิลิตร
(สิ่งส่งตรวจที่มีปริมาณน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจหาเซลล์มะเร็งลดน้อยลง)
- ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- - กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อคำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- - สิ่งส่งตรวจที่ได้จาก peritoneal washing ขณะทำการผ่าตัด ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็น peritoneal washing หรือสิ่งส่งตรวจจากการผ่าตัด
ไม่ควรระบุแค่ ascites หรือ peritoneal fluid เนื่องจากทำให้สับสนกับสิ่งส่งตรวจที่เก็บได้จากการทำ paracentesis / abdominal tapping
- - ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่งที่เก็บ และวันที่เก็บ
วิธีการส่งตรวจ
- บรรจุของเหลวในภาชนะแห้งสะอาดที่มีฝาปิดสนิท ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วย
ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งสถาบันพยาธิวิทยาให้เร็วที่สุด
- กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ภายในเวลา 30 นาที ให้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- ไม่ควรเติมสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution)
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน
ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อคำแนะนำการเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว)
- การเตรียมเซลล์บล็อก (cell block)
- - ในกรณีที่นำ specimen ที่เป็นของเหลวมาส่งสถาบันพยาธิวิทยา ทางสถาบันจะดำเนินการทำเซลล์บล็อกตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ร้องขอ
ถ้าสิ่งส่งตรวจมีปริมาณมากเพียงพอ
- - ในกรณีที่นำ specimen มาส่งเป็นสไลด์ ทางหน่วยงานผู้ส่งจะต้องดำเนินการทำ paraffin block เองและส่งบล็อกนั้นมาพร้อมกับสไลด์
โดยใช้ใบส่งตรวจเซลล์วิทยาใบเดียวกัน
การส่งตรวจเซลล์วิทยาน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)
- ข้อแนะนำการเก็บน้ำไขสันหลัง
- - เก็บน้ำไขสันหลัง (CSF) ใส่ในขวดปลอดเชื้อ (sterile) ควรเลือกใช้ภาชนะพลาสติกมากกว่าขวดแก้ว เนื่องจากน้ำไขสันหลังมีปริมาณเซลล์น้อย และเซลล์เกาะติดผิวแก้วได้มากกว่าพลาสติก
- - หากสามารถทำได้ ควรเลือก CSF จากขวดที่เก็บได้เป็นขวดที่สองหรือสามส่งตรวจเซลล์วิทยา เนื่องจากขวดแรกที่เก็บได้มักมีเลือดปนเปื้อน และขวดในส่วนท้ายอาจจะมีปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่พอสำหรับการตรวจ
- ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- - กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- - ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บ
- - ควรให้ผลการตรวจ cell count and differential count มาด้วย เนื่องจากทางสถาบันพยาธิวิทยาไม่สามารถดูผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลผู้ส่งตรวจจากระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลนี้มีความสำคัญต่อการวินิจฉัย
- - ในกรณีที่เก็บน้ำไขสันหลังจากบริเวณ shunt (ventriculoperitoneal shunt, Ommaya shunt, etc.) ต้องแจ้งมาในใบส่งตรวจ เนื่องจากใน CSF ที่เก็บจากบริเวณ shunt อาจพบเซลล์ชนิดที่ไม่ปรากฏใน CSF ปกติที่เก็บจาก lumbar puncture
- - หากเป็นของเหลวที่เก็บได้จากภายใน brain lesion ระหว่างผ่าตัด กรุณาระบุว่าเป็น intratumoral fluid หรือ intralesional fluid ไม่ใช่ cerebrospinal fluid
วิธีการส่งตรวจ
- บรรจุน้ำไขสันหลังในขวดปลอดเชื้อ ปิดฝาภาชนะให้สนิท ติดเทปกาวรอบฝา และใส่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้เรียบร้อย
- ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งสถาบันพยาธิวิทยาให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องเติมสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution) จะช่วยให้ได้คุณภาพเซลล์ที่ดีที่สุด
- กรณีที่ไม่สามารถส่งถึงสถาบันพยาธิวิทยาได้ภายในเวลา 30 นาที ให้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน
ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำการเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว)
- หมายเหตุ
- - สถาบันพยาธิวิทยาไม่รับตรวจ CSF จากผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรค Creutzfeldt-Jakob disease (CJD) เนื่องจากโรคนี้ไม่มีความผิดปกติทาง cytology ที่จำเพาะต่อตัวโรค การส่งตรวจทางเซลล์วิทยาไม่ช่วยในการวินิจฉัยและเพิ่มความเสี่ยงของบุคลากรในห้องปฏิบัติการต่อการติดเชื้อ
การส่งตรวจของเหลวในร่างกาย (Body fluid)
ของเหลวในร่างกาย ได้แก่ น้ำจากช่องปอด (pleural effusion) ช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) น้ำจากช่องท้อง (peritoneal fluid, ascites, peritoneal washing)
- ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
- - ควรนำสิ่งส่งตรวจทั้งหมด (ที่เหลือจากการแบ่งไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการชนิดอื่น เช่น cell count and differential count, culture, etc.)
ส่งตรวจเซลล์วิทยา
- - สิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมควรมีปริมาณอย่างน้อย 30-50 มิลลิลิตร
(สิ่งส่งตรวจที่มีปริมาณน้อยกว่า 50 มิลลิลิตร จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจหาเซลล์มะเร็งลดน้อยลง)
- ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- - กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อคำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- - สิ่งส่งตรวจที่ได้จาก peritoneal washing ขณะทำการผ่าตัด ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็น peritoneal washing หรือสิ่งส่งตรวจจากการผ่าตัด
ไม่ควรระบุแค่ ascites หรือ peritoneal fluid เนื่องจากทำให้สับสนกับสิ่งส่งตรวจที่เก็บได้จากการทำ paracentesis / abdominal tapping
- - ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่งที่เก็บ และวันที่เก็บ
วิธีการส่งตรวจ
- บรรจุของเหลวในภาชนะแห้งสะอาดที่มีฝาปิดสนิท ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วย
ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งสถาบันพยาธิวิทยาให้เร็วที่สุด
- กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ภายในเวลา 30 นาที ให้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- ไม่ควรเติมสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution)
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน
ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อคำแนะนำการเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว)
- การเตรียมเซลล์บล็อก (cell block)
- - ในกรณีที่นำ specimen ที่เป็นของเหลวมาส่งสถาบันพยาธิวิทยา ทางสถาบันจะดำเนินการทำเซลล์บล็อกตามที่เห็นสมควรหรือตามที่ร้องขอ
ถ้าสิ่งส่งตรวจมีปริมาณมากเพียงพอ
- - ในกรณีที่นำ specimen มาส่งเป็นสไลด์ ทางหน่วยงานผู้ส่งจะต้องดำเนินการทำ paraffin block เองและส่งบล็อกนั้นมาพร้อมกับสไลด์
โดยใช้ใบส่งตรวจเซลล์วิทยาใบเดียวกัน
การส่งตรวจเซลล์วิทยาปัสสาวะ (Urine)
- ปัสสาวะที่ส่งตรวจทางเซลล์วิทยา มี 3 ประเภท ได้แก่
- - Voided urine: ปัสสาวะที่ผู้ป่วยถ่ายเอง
- - Catheterized urine: ปัสสาวะที่เก็บจากสายสวนปัสสาวะ
- - Bladder washing: ปัสสาวะที่เก็บได้จากการทำ bladder irrigation หรือเก็บจากการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ (cystoscopy)
- ข้อแนะนำการเก็บ Voided urine
- - หากให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะที่ถ่ายเอง (voided urine) ควรเป็นปัสสาวะครั้งแรกของวันในช่วงเช้าหลังตื่นนอน และเป็น midstream voided urine โดยแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนถ่ายปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนเก็บเฉพาะปัสสาวะช่วงกลางและทิ้งปัสสาวะช่วงท้าย
- - สิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมควรมีปริมาณอย่างน้อย 30 มิลลิลิตร
- ข้อแนะนำการเก็บ Catheterized urine
- - หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ (Foley catheter) อยู่ ให้เก็บปัสสาวะโดยใช้เข็มและไซริงค์ดูดปัสสาวะออกมาจากสายยางบริเวณ urine drainage port
- - ห้ามเก็บปัสสาวะที่ค้างอยู่ในถุงรองรับปัสสาวะ (urine collection bag) ส่งตรวจ เนื่องจากเซลล์ในปัสสาวะจะเสื่อมสภาพไปมากแล้ว
- ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- - กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา) และต้องระบุว่าปัสสาวะมาจากการเก็บประเภทไหน
- - ภาชนะบรรจุต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บ
วิธีการส่งตรวจปัสสาวะ
- บรรจุปัสสาวะในภาชนะแห้งสะอาดที่มีฝาปิดสนิท ติดเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝา และใส่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้เรียบร้อย
- ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งสถาบันพยาธิวิทยาให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องเติมสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution) จะช่วยให้ได้สไลด์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
- กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ภายในเวลา 30 นาที ให้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
-หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
-สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำการเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว)
การส่งตรวจเซลล์วิทยาระบบทางเดินหายใจ (Sputum, BAL, bronchial wash, bronchial brushing)
สิ่งส่งตรวจเซลล์วิทยาระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย
- - เสมหะ (sputum)
- - เสมหะที่เก็บจากการให้ผู้ป่วยไอออกมาเอง (spontaneous deep cough)
- - เสมหะที่เก็บจากการกระตุ้นให้เกิดการไอ (induced sputum)
- - เสมหะที่เก็บหลังการส่องกล้อง (postbronchoscopy sputum)
- - Bronchial brushing
- - Bronchial washing
- - Bronchoalveolar lavage (BAL)
- ข้อแนะนำการเก็บเสมหะ
- - ให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะตอนเช้า หลังตื่นนอนทันที จะได้สารคัดหลั่งในหลอดลมที่สะสมในช่วงกลางคืนออกมา
- - ให้ผู้ป่วยสั่งน้ำมูก แปรงฟัน บ้วนปากให้สะอาดก่อนเก็บเสมหะ
- - ภาชนะที่เก็บควรเป็นภาชนะแห้งสะอาดและมีปากกว้าง
- - หากผู้ป่วยไม่มีอาการไอ หรือไอไม่มีเสมหะ สามารถทำการกระตุ้นให้เกิดเสมหะโดยการทำ heated aerosol inhalation ด้วย 20% polypropylene glycol ผสมใน hypertonic (10%) saline solution หรือในน้ำกลั่น
- - การเก็บเสมหะภายหลังการส่องกล้อง 24 ชั่วโมง อาจช่วยให้ได้เสมหะปริมาณมากขึ้น เนื่องจากมีเซลล์หลุดลอกออกมาจากการทำหัตถการ
- - หากให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะด้วยตนเองที่บ้าน ควรให้ภาชนะบรรจุสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution) 50-70% ethanol และเก็บภาชนะบรรจุเสมหะไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสก่อนนำมาส่งที่โรงพยาบาล
- ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- - กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- - ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่งที่เก็บ และวันที่เก็บ
- - ภาชนะที่เก็บควรเป็นภาชนะแห้งสะอาดและมีปากกว้าง
- - ในกรณีที่ทำหัตถการหนึ่งครั้งได้สิ่งส่งตรวจหลายชนิด เช่นในการทำ Bronchoscopy มีการเก็บสิ่งส่งตรวจเป็น bronchial brushing, bronchial washing และ BAL ให้เขียนใบส่งตรวจแยกสำหรับสิ่งส่งตรวจแต่ละชนิด
- - หากต้องการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการย้อมพิเศษ (special stains) ดังต่อไปนี้ กรุณาระบุมาในใบส่งตรวจ
- - Oil-red-O stain สำหรับการหา lipid-laden macrophages
- - Iron stain สำหรับการหา hemosiderin-laden macrophages
- - GMS stain สำหรับการหา fungal organisms
*** *** การย้อม GMS บนสเมียร์ ช่วยระบุชนิดของเชื้อราบางประเภทได้ เช่น Candida, Histoplasma, Cryptococcus, Pneumocystis แต่ไม่สามารถจำแนกย่อยจนถึงชั้น species ได้ หากต้องการทราบ species ของเชื้อรา กรุณาส่งตรวจ culture เพิ่มเติม ***
วิธีการส่งตรวจเสมหะ
- หลังจากเก็บเสมหะได้ ควรทำการป้ายเสมหะลงบนสไลด์ทันที จะช่วยให้ได้สไลด์ที่มีคุณภาพดีที่สุด วิธีการเตรียมสไลด์มีดังต่อไปนี้
- ป้ายเสมหะบนสไลด์แก้วแล้วใช้สไลด์อีกแผ่นหนึ่งวางประกบก่อนดึงสไลด์แยกออกจากกัน นำสไลด์แช่ในภาชนะบรรจุสารละลาย 95% ethyl alcohol ทันที โดยให้ปริมาณของสารละลายท่วมแผ่นสไลด์ ทำสไลด์จำนวน 4 แผ่น
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- นำภาชนะบรรจุสไลด์และสารละลาย 95% ethanol พร้อมใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- กรณีที่ไม่สามารถเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ได้ภายในเวลา 30 นาที หลังจากเก็บ
- เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- อาจพิจารณาเติมสารละลายรักษาสภาพเซลล์ (fixative solution) ลงในภาชนะบรรจุเสมหะ ทั้งนี้สิ่งส่งตรวจที่ใส่ fixative solution จะมีคุณภาพเซลล์ไม่ดีเท่าสิ่งส่งส่งตรวจที่นำส่งทันที (กรุณาอ่านหัวข้อ fixative solution สำหรับสิ่งส่งตรวจระบบทางเดินหายใจ)
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อ วิธีการเตรียมสไลด์)
วิธีการส่งตรวจ specimen จาก bronchial brushing
กรุณาอ่านหัวข้อ การส่งตรวจเซลล์วิทยาจากวิธี brushing
วิธีการส่งตรวจ specimen จาก bronchial washing และ BAL
- บรรจุของเหลวในภาชนะแห้งสะอาดที่มีฝาปิดสนิท ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ และวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- ควรนำสิ่งส่งตรวจส่งสถาบันพยาธิวิทยาให้เร็วที่สุด
- กรณีที่ไม่สามารถส่งได้ภายในเวลา 30 นาที ให้เก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะถึงเวลานำส่ง
- ห้ามเก็บสิ่งส่งตรวจในตู้เย็นช่องแช่แข็งหรือในอุณหภูมิห้อง
- หากไม่สามารถนำส่งได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเก็บ อาจพิจารณาใส่สารละลายรักษาสภาพเซลล์ ในอัตราส่วน specimen:fixative solution เป็น 1:1 ทั้งนี้สิ่งส่งตรวจที่ใส่ fixative solution จะมีคุณภาพเซลล์ไม่ดีเท่าสิ่งส่งส่งตรวจที่นำส่งทันที (กรุณาอ่านหัวข้อ fixative solution สำหรับสิ่งส่งตรวจระบบทางเดินหายใจ)
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำการเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว)
- นำสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ ส่งห้องปฏิบัติการ
- หากระยะเวลาขนส่งนานกว่า 30 นาที ควรบรรจุสิ่งส่งตรวจในภาชนะแช่เย็นระหว่างนำส่ง
- สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ควรเตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง (กรุณาอ่านหัวข้อ วิธีการเตรียมสไลด์)
สารละลายรักษาสภาพเซลล์ (Fixative Solution)
สำหรับสิ่งส่งตรวจระบบทางเดินหายใจ สามารถเลือกใช้ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- 50-70 % ethyl alcohol
- Saccomanno fixative คือสารละลายที่ประกอบด้วย 50% ethanol และ 2% polyethylene glycol
หมายเหตุ
- สิ่งส่งตรวจที่ใส่ fixative solution จะมีคุณภาพเซลล์ไม่ดีเท่าสิ่งส่งส่งตรวจที่ได้รับการเตรียมเป็นสไลด์ทันที
การส่งตรวจเซลล์วิทยาจากหัตถการเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก (Fine Needle Aspiration)
ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
เทคนิคการเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก (Fine needle aspiration - FNA) ได้แก่
- Vacuum suction:
การทำ FNA โดยใช้ needle ต่อกับ syringe และอาจจะใช้ที่จับ syringe (syringe holder) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
- French (Zajdela) technique:
การทำ FNA โดยไม่มีการ suction สามารถทำได้โดยการใช้เพียง needle ที่ไม่ต่อกับ syringe วิธีนี้จะเก็บสิ่งส่งตรวจได้ปริมาณน้อยกว่าวิธีแรก แต่มีเลือดติดออกมาน้อยกว่า สิ่งส่งตรวจจะเข้ามาใหเข็มด้วยแรง capillary pressure วิธีนี้จึงเหมาะกับการทำ FNA ในอวัยวะที่อยู่ตื้นและมีเลือดมาเลี้ยงปริมาณมาก เช่น ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland)
ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่งที่เก็บ และวันที่เก็บ
วิธีการส่งตรวจสไลด์ FNA
- เขียนชื่อและเลขที่เวชระเบียนของผู้ป่วยบนสไลด์ทุกแผ่นที่จะส่งตรวจ (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเตรียมสไลด์แก้ว)
- หากเก็บของเหลวได้ปริมาณมาก เช่น cyst fluid ให้นำของเหลวใส่ภาชนะและส่งตรวจด้วยวิธีการเดียวกับการส่งตรวจเซลล์วิทยา body fluid อื่นๆ (กรุณาอ่านหัวข้อการส่งตรวจเซลล์วิทยาของเหลวจากในร่างกาย)
- ป้าย specimen ลงบนสไลด์
- ถอด needle ออกจาก syringe
- ดึงลูกสูบ (Plunger) ดูดอากาศเข้า syringe ก่อนต่อ needle กลับเข้าไป
- วาง glass slide บนโต๊ะ หงายด้านขรุขระของรอยฝ้าตรงหัวสไลด์ขึ้น แตะปลาย needle บนสไลด์และดันลูกสูบฉีด specimen ออกมาบนสไลด์ช้าๆ
- นำสไลด์อีกแผ่นวางคว่ำประกบด้านบน ให้ specimen กระจายออก ก่อนเลื่อนสไลด์แยกออกจากกันให้สิ่งส่งตรวจกระจายทั่วสไลด์และบางสม่ำเสมอกัน
- ขั้นตอนการทำ FNA และการเตรียมสไลด์โดยละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก VDO ได้ที่
http://www.papsociety.org/fna-techniques/
https://www.youtube.com/watch?v=mXh9en_nCBU
- เตรียมสไลด์จำนวน 2-8 แผ่น เป็น air-dried slide 1 แผ่น และที่เหลือเป็น wet-fixed slide (หาก specimen มีปริมาณน้อยมาก สามารถเตรียมสไลด์ได้ไม่เกิน 2 แผ่น ให้ทำเฉพาะ wet-fixed slide)
4.1 Air-dried slide
- วางสไลด์ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนบรรจุลงกล่อง
- ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนกล่อง
4.2 Wet-fixed slide
- รีบวางสไลด์ลงในภาชนะ (Coplin jar) บรรจุ 95% ethyl alcohol ทันที ให้ปริมาณของสารละลายท่วมแผ่นสไลด์
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- นำสิ่งส่งตรวจพร้อมใบส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการ
วิธีการส่งตรวจ Cell block จาก FNA
- เตรียมภาชนะบรรจุ 10% neutral buffered formalin
*** ภาชนะที่ใช้ สามารถใช้ tube พลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด หรือหลอดเก็บเลือดชนิดจุกสีแดง (No additive blood collection tube) ***
- นำ needle ที่ใช้ในการทำ FNA ซึ่งมี specimen ค้างอยู่ในเข็มใส่ลงในภาชนะ
*** ห้ามนำเข็มหุ้มปลอกใส่ในถุงพลาสติกบรรจุ 10% neutral buffered formalin เนื่องจากปลอกเข็มอาจจะหลุดออกและเข็มแทงทะลุถุงพลาสติกออกมา ทำให้เกิดการรั่วไหลและเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้นำส่ง ***
- หากมีชิ้นเนื้อหลุดออกมากับของเหลวจากการทำ FNA ให้แยกชิ้นเนื้อนำมาใส่ใน 10% neutral buffered formalin เพื่อส่งตรวจเป็น cell block
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมกับสไลด์ที่ได้จากการทำ FNA
การส่งตรวจเซลล์วิทยาจากวิธี brushing
ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
เทคนิคการเจาะดูดด้วยเข็มเล็ก (Fine needle aspiration - FNA) ได้แก่
- Vacuum suction:
การทำ FNA โดยใช้ needle ต่อกับ syringe และอาจจะใช้ที่จับ syringe (syringe holder) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
French (Zajdela) technique:
การทำ FNA โดยไม่มีการ suction สามารถทำได้โดยการใช้เพียง needle ที่ไม่ต่อกับ syringe วิธีนี้จะเก็บสิ่งส่งตรวจได้ปริมาณน้อยกว่าวิธีแรก แต่มีเลือดติดออกมาน้อยกว่า สิ่งส่งตรวจจะเข้ามาใหเข็มด้วยแรง capillary pressure วิธีนี้จึงเหมาะกับการทำ FNA ในอวัยวะที่อยู่ตื้นและมีเลือดมาเลี้ยงปริมาณมาก เช่น ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland)
ข้อแนะนำการเขียนใบส่งตรวจและฉลากติดภาชนะ
- กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนและชัดเจน ด้วยลายมือที่อ่านง่าย (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเขียนใบส่งตรวจทางเซลล์วิทยา)
- ภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจต้องมีฉลากระบุ ชื่อ-นามสกุล เลขที่เวชระเบียน (HN) ของผู้ป่วย ชนิดของสิ่งส่งตรวจ ตำแหน่งที่เก็บ และวันที่เก็บ
วิธีการส่งตรวจสไลด์ FNA
- เขียนชื่อและเลขที่เวชระเบียนของผู้ป่วยบนสไลด์ทุกแผ่นที่จะส่งตรวจ (กรุณาอ่านหัวข้อ คำแนะนำในการเตรียมสไลด์แก้ว)
- หากเก็บของเหลวได้ปริมาณมาก เช่น cyst fluid ให้นำของเหลวใส่ภาชนะและส่งตรวจด้วยวิธีการเดียวกับการส่งตรวจเซลล์วิทยา body fluid อื่นๆ (กรุณาอ่านหัวข้อการส่งตรวจเซลล์วิทยาของเหลวจากในร่างกาย)
- ป้าย specimen ลงบนสไลด์
- ถอด needle ออกจาก syringe
- ดึงลูกสูบ (Plunger) ดูดอากาศเข้า syringe ก่อนต่อ needle กลับเข้าไป
- วาง glass slide บนโต๊ะ หงายด้านขรุขระของรอยฝ้าตรงหัวสไลด์ขึ้น แตะปลาย needle บนสไลด์และดันลูกสูบฉีด specimen ออกมาบนสไลด์ช้าๆ
- นำสไลด์อีกแผ่นวางคว่ำประกบด้านบน ให้ specimen กระจายออก ก่อนเลื่อนสไลด์แยกออกจากกันให้สิ่งส่งตรวจกระจายทั่วสไลด์และบางสม่ำเสมอกัน
- ขั้นตอนการทำ FNA และการเตรียมสไลด์โดยละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก VDO ได้ที่
http://www.papsociety.org/fna-techniques/
https://www.youtube.com/watch?v=mXh9en_nCBU
- เตรียมสไลด์จำนวน 2-8 แผ่น เป็น air-dried slide 1 แผ่น และที่เหลือเป็น wet-fixed slide (หาก specimen มีปริมาณน้อยมาก สามารถเตรียมสไลด์ได้ไม่เกิน 2 แผ่น ให้ทำเฉพาะ wet-fixed slide)
4.1 Air-dried slide
- วางสไลด์ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนบรรจุลงกล่อง
- ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนกล่อง
4.2 Wet-fixed slide
- รีบวางสไลด์ลงในภาชนะ (Coplin jar) บรรจุ 95% ethyl alcohol ทันที ให้ปริมาณของสารละลายท่วมแผ่นสไลด์
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝาปิด ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- นำสิ่งส่งตรวจพร้อมใบส่งตรวจส่งห้องปฏิบัติการ
การเตรียมสไลด์จากสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลว
สถานพยาบาลที่ไม่สามารถนำสิ่งส่งตรวจมาส่งที่สถาบันพยาธิวิทยาได้เอง ต้องใช้บริการไปรษณีย์หรือบริษัทขนส่งเอกชน ให้เตรียมสิ่งส่งตรวจเป็นสไลด์ก่อนนำส่ง ตามวิธีดังต่อไปนี้
- เขียนชื่อและเลขที่เวชระเบียนของผู้ป่วยลงบนหัวสไลด์ทุกแผ่น
- นำของเหลวใส่ centrifuge tube ไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge อัตราเร็ว 5000/รอบ/นาที นาน 5 นาที
- เทของเหลวส่วนบนทิ้ง
- นำส่วนตะกอนก้นหลอดป้ายลงบนสไลด์จำนวน 4 แผ่น เป็น air-dried slide 1 แผ่น และ wet-fixed slide 3 แผ่น
4.1 Air-dried slide (1 แผ่น)
- ป้ายตะกอนสิ่งส่งตรวจจากบริเวณก้นหลอดบนสไลด์ วางทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนบรรจุลงกล่อง
- ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนกล่อง
4.2 Wet-fixed slide (3 แผ่น)
- ป้ายตะกอนสิ่งส่งตรวจบนสไลด์ รีบวางสไลด์ลงในภาชนะ (Coplin jar) บรรจุสารละลาย 95% ethyl alcohol ทันที โดยให้ปริมาณของสารละลายท่วมแผ่นสไลด์
- ปิดฝาภาชนะให้แน่น พันเทปกาวหรือพาราฟิลม์รอบฝา ติดฉลากระบุตัวตนของผู้ป่วยบนภาชนะ ใส่ภาชนะในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น
- ส่งสิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจมาที่สถาบันพยาธิวิทยา
- หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเซลล์วิทยา สถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-8208 ถึง 15 ต่อหมายเลขภายใน 135
วิธีส่งตรวจทาง Electron microscopy
ชิ้นเนื้อที่ต้องการส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ชิ้นเนื้อสดที่ได้จากการผ่าตัดทันที (fresh specimen)
- ชิ้นเนื้อที่แช่ในฟอร์มาลิน (formalin-fixed specimen)
- ชิ้นเนื้อจากพาราฟินบล็อก (paraffin-embedded specimen)
ชิ้นเนื้อประเภทที่ 1 จะให้ผลการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้ ควรส่งชิ้นเนื้อประเภทที่ 1 มาตรวจ ชิ้นเนื้อประเภทที่ 1 สามารถเตรียมชิ้นเนื้อก่อนส่งตรวจได้ ดังนี้
- แจ้งแพทย์ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
- เตรียมน้ำยา 2.5% glutaraldehyde fixative หรือขอรับน้ำยานี้ได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอการใช้งาน
- เมื่อได้ชิ้นเนื้อสดจากการผ่าตัด ให้แบ่งมาส่วนหนึ่งล้างด้วย normal saline แล้วใช้ใบมีดคม ๆ หั่นชิ้นเนื้อที่แบ่งมานี้ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ (ขนาดประมาณ 1 ลบ.ม.ม.) ในระหว่างนี้ให้หล่อชิ้นเนื้อด้วยน้ำยา 2.5% glutaraldehyde ตลอดเวลา และควรรีบทำด้วยความรวดเร็ว ใส่ชิ้นเนื้อที่ได้ทั้งหมดลงในขวดน้ำยา 2.5% glutaraldehyde บันทึกเวลาที่ใส่ชิ้นเนื้อ แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ- จุลทรรศน์อิเล็กตรอนภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที
- หากไม่สามารถส่งชิ้นเนื้อได้ทันที ให้จับเวลา 30 นาที ระหว่างนี้ให้เขย่าขวดตลอดเวลาหรือใส่ขวดใน rotator หรือ shaker หลังจากครบเวลาให้เปลี่ยนใส่น้ำยา phosphate buffer แทน จากนั้นให้เปลี่ยนน้ำยา phosphate buffer อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 10 นาที แล้วเก็บใส่ตู้เย็นเพื่อรอส่งไปห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์อิเล็กตรอนต่อไป (ควรส่งภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์)
- ชิ้นเนื้อประเภทที่ 2 และ 3 สามารถส่งมาได้ตามปกติ
หมายเหตุ : การตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัด เพราะฉะนั้นการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนควรทำไปพร้อมกับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา